เมนู

อรรถกถาอุปสีวมาณวกปัญหานิทเทสที่ 6


พึงทราบวินิจฉัยใน อุปสีวมาณวกปัญหานิทเทสที่ 6 ดังต่อไปนี้.
บทว่า มหนฺตโอฆํ คือ โอฆะใหญ่. บทว่า อนิสฺสิโต ไม่อาศัย
แล้ว คือ ไม่ติดบุคคลหรือธรรม. บทว่า โน วิสหามิ คือ ข้าพระองค์
ไม่อาจ. บทว่า อารมฺมณํ อารมณ์ คือนิสัย. บทว่า ยํ นิสฺสิโต คือ
อาศัยธรรมหรือบุคคลใด.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป.
บทว่า กาโมฆํ พึงข้ามกาโมฆะได้ด้วยอนาคามิมรรค พึงข้าม
ภโวฆะได้ด้วยอรหัตมรรค พึงข้ามทิฏโฐฆะได้ด้วยโสดาปัตติมรรค พึง
ข้ามอวิชโชฆะได้ด้วยอรหัตมรรค. บทว่า สกฺยกุลา ปพฺพชิโต ออก
บวชจากตระกูลศากยะ ท่านกล่าวด้วยอำนาจการแสดงตระกูลสูงของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า อาลมฺพณํ คือ ที่ยึดเหนี่ยว. บทว่า นิสฺสยํ
ที่อาศัย คือ ที่เกี่ยวเกาะ. บทว่า อุปนิสฺสยํ ที่เข้าไปอาศัย คือที่พึ่ง.
บัดนี้ เพราะพราหมณ์นั้นเป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนะ จึงไม่รู้นิสัย
แม้มีอยู่นั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงนิสัยนั้น และ
ทางออกไปให้ยิ่งขึ้นแก่พราหมณ์นั้น จึงตรัสคาถาว่า อากิญฺจญฺญํ ดังนี้
เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เปกฺขมาโน เพ่งดู คือ มีสติเพ่งดูอากิญ-
จัญญายตนสมาบัตินั้น ทั้งเข้าและออกโดยมีความไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า
นตฺถีติ นิสฺสาย อาศัยว่าไม่มี คือ กระทำสมาบัติอันเป็นไปแล้วว่า ไม่มี
อะไรดังนี้ ให้เป็นอารมณ์. บทว่า ตรสฺสุ โอฆํ พึงข้ามโอฆะ คือ

พึงข้ามโอฆะ 4 อย่าง ตามสมควรแห่งวิปัสสนาอันเป็นไปแล้ว จำเดิม
แต่นั้น. บทว่า กถาหิ คือ จากความสงสัย. บทว่า ตณฺหกฺขยํ รตฺต-
มหาภิปสฺส
จงพิจารณาดูความสิ้นไปแห่งตัณหาตลอดคืนและวัน คือ
จงพิจารณาดูทำนิพพานให้แจ้งตลอดคืนและวัน. ด้วยบทนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสถึงสุขวิหารธรรมในปัจจุบันแก่พราหมณ์นั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป.
บทว่า ตญฺเญว วิญฺญาณํ อภาเวติ ไม่ยังวิญญาณนั้นนั่นแลให้
เจริญ คือ กระทำอากาสานัญจายตนะนั้นให้เป็นที่ยึดเหนี่ยว แล้วไม่ยัง
วิญญาณอันเป็นมหัคคตะอันเป็นไปแล้วให้เจริญ คือ ให้ถึงความไม่มี.
บทว่า วิภาเวติ ให้เป็นแจ้ง คือ ให้ถึงความไม่มีหลาย ๆ อย่าง. บทว่า
อนฺตรธาเปติ ให้หายไป คือให้ถึงความไม่เห็น. บทว่า นตฺถิ กิญฺจีติ
ปสฺสติ
เห็นว่า ไม่มีอะไร คือ เห็นว่า ไม่มี โดยที่สุดแม้เพียงความแตก
ดับของเราเอง.
บัดนี้ อุปสีวมาณพสดับแล้วว่า กาเม ปหาย ละกามทั้งหลาย
เมื่อพิจารณาเห็นกามทั้งหลายที่ตนละแล้วด้วยการข่มไว้ จึงกล่าวคาถา
มีอาทิว่า สพฺเพสุ ในกามทั้งปวงดังนี้.
บทว่า หิตฺวมญฺญํ ละสมาบัติอื่น คือ ละสมาบัติ 6 อย่างอื่นเบื้องต่ำ
จากนั้น. บทว่า สญฺญาวิโมกฺเข ปรเม น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์
อย่างยิ่ง ได้แก่ ในสัตตสัญญาวิโมกข์ คือ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
อันสูงสุด. บทว่า ติฏฺเฐ นุ โส ตตฺถ อนานุยายี คือ บุคคลนั้นไม่
หวั่นไหวพึงดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้นหรือหนอ.

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศดังต่อไปนี้.
บทว่า อเวธมาโน ไม่หวั่นไหว คือ ไม่ข้อง. บทว่า อวิคจฺฉ-
มาโน
คือ ไม่ถึงความพลัดพราก. บทว่า อนนฺตรธายมาโน คือ ไม่
ถึงความอันตรธาน. บทว่า อปริหายมาโน คือ ไม่ถึงความเสื่อมใน
ระหว่าง.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงรู้ตามถึงฐานะในที่สุดหก-
หมื่นกัปของอุปสีวมาณพนั้น จึงตรัสคาถาที่ 3. อุปสีวมาณพครั้นสดับ
ถึงฐานะในสมาบัตินั้นของบุคคลนั้น บัดนี้ เมื่อจะทูลถามถึงความเป็น
สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิของบุคคลนั้น จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า ติฏฺเฐ
เจ
หากผู้นั้นพึงดำรงอยู่ในสมาบัตินั้น ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปูคมฺปิ วสฺสานํ แม้มากปี ความว่า นับปี
แม้ไม่น้อย. ปาฐะว่า ปูคมฺปิ วสฺสานิ บ้าง. ในบทนั้นแปลงฉัฏฐีวิภัตติเป็น
ปฐมาวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปูคํ แปลว่า มีมาก. อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า ปูคานิ บ้าง. ปาฐะแรกดีกว่า. บทว่า ตตฺเถว โสสีติ สิยา
วิมุตฺโต
ผู้นั้นเป็นผู้พ้นแล้ว มีความเย็น พึงมีในสมาบัตินั้น คือ บุคคล
นั้นพ้นแล้วจากทุกข์ต่าง ๆ ในอากิญจัญญายตนะนั้น พึงถึงความเป็นผู้เย็น
อธิบายว่า เป็นผู้เที่ยงที่จะถึงนิพพานดำรงอยู่. บทว่า ภเวถ วิญฺญาณํ
ตถาวิธสฺส
วิญญาณของผู้นั้นพึงมีหรือ หรือถามถึงความขาดสูญว่า
วิญญาณของผู้นั้นพึงดับโดยไม่ยึดมั่นหรือ. ย่อมถามถึงแม้ปฏิสนธิของผู้
นั้นว่า พึงมีเพื่อถือปฏิสนธิหรือ. บทว่า ตสฺส วิญฺญาณํ จเวยฺย วิญญาณ
ของผู้นั้นพึงเคลื่อนไป คือวิญญาณของผู้เกิดในอากิญจัญญายตนะนั้น พึง
ถึงความเคลื่อนไป. บทว่า อุจฺฉิชฺเชยฺย คือ พึงขาดสูญ. บทว่า วินสฺ-

เสยฺย คือ พึงถึงความพินาศ. บทว่า น ภเวยฺย คือ ถึงความไม่มี.
บทว่า อุปฺปนฺนสฺส คือ เกิดแล้วด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงความดับ โดย
ไม่ยึดมั่นของพระอริยสาวก ผู้ไม่อาศัยอุจเฉททิฏฐิและสัสสตทิฏฐิเกิดขึ้น
แล้ว ในที่นั้นจึงตรัสพระคาถา มีอาทิว่า อจฺจิ ยถา เหมือนเปลวไฟ
ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถํ ปเลติ ย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้ คือ
ถึงความไม่มี. บทว่า น อุเปติ สงฺขยํ ไม่เข้าถึงความนับ คือ ไม่ถึง
การพูดไปว่า ไปแล้วสู่ทิศโน้น. บทว่า เอวํ มุนิ นามกายา วิมุตฺโต
มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ฉันนั้น คือ พระเสกขมุนีเกิดแล้วในที่นั้น ตาม
ปกติเป็นผู้พ้นแล้วจากรูปกายมาก่อน ยังจตุตถมรรค (อรหัตมรรค) ให้
เกิดในที่นั้นแล้ว พ้นแม้จากนามกายอีก เพราะกำหนดรู้นามกายเป็น
พระขีณาสพผู้อุภโตภาควิมุตติ (พ้นทั้งสองส่วน) ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้
ย่อมไม่ถึงการนับว่าเป็นกษัตริย์หรือเป็นพราหมณ์.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไปดังนี้.
บทว่า ขิตฺตา ซัดไป คือ ดับ. บทว่า อุกฺขิตฺตา ซัดขึ้นไปแล้ว
คือ สูญหาย. บทว่า นุนฺนา หายไป คือ ไล่ออกไป. บทว่า ปนุนฺนา
สิ้นไป คือ ทำให้ไกล. บทว่า ขมฺภิตา หมดไป คือ ถอยไป. บทว่า
วิกฺขมฺภิตา หมดสิ้นไปแล้ว คือ ไม่เข้าไปใกล้อีกแล้ว.
บัดนี้ อุปสีวมาณพครั้นสดับว่า อตฺถํ ปเลติ ถึงการตั้งอยู่ไม่ได้
มิได้กำหนดถึงการตั้งอยู่ไม่ได้โดยแยบคายของมุนีนั้น จึงกล่าวคาถาว่า
อตฺถงฺคโต โส มุนีนั้นเป็นผู้ดับไปแล้ว ดังนี้เป็นต้น.

บทนั้นมีความดังนี้ มุนีนั้นเป็นผู้ดับไปแล้ว หรือมุนีนั้นไม่มี หรือ
มุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีโรค มีความไม่ปรวนแปรไปเป็นธรรมดา โดยความ
เป็นผู้เที่ยง ขอพระองค์ผู้เป็นมุนีโปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์
ด้วยดี พระองค์ทรงทราบธรรมนั้นแล้วแท้จริง.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไปดังนี้.
บทว่า นิรุทฺโธ ดับแล้ว คือ ถึงความดับ. บทว่า อุจฺฉินฺโน ขาด
สูญแล้ว คือ มีสันดานขาดสูญแล้ว. บทว่า วินฏฺโฐ หายไปแล้ว คือ
ถึงความพินาศ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงถ้อยคำที่ไม่ควร
กล่าวอย่างนั้นแก่อุปสีวมาณพ จึงตรัส คาถาว่า อตฺถงฺคตสฺส ผู้ดับไปแล้ว
ดังนี้ เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถงฺคตสฺส คือ ดับ เพราะไม่ถือมั่น.
บทว่า น ปมาณมตฺถิ ไม่มีประมาณ คือ ไม่มีประมาณในรูปเป็นต้น.
บทว่า เยน นํ วชฺชุํ คือ ชนทั้งหลายพึงว่าบุคคลนั้นด้วยกิเลส มีราคะ
เป็นต้นใด. บทว่า สพฺเพสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ ธรรมมีขันธ์เป็นต้น
ทั้งปวง.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไปนี้.
บทว่า อธิวจนา จ ถ้อยคำยิ่ง คือ ที่พูดทำให้ยิ่งเพียงพูดว่า สิริ-
วัฑฒกะ (เจริญด้วยสิริ) ธนวัฑฒกะ (เจริญด้วยทรัพย์) เป็นต้น ชื่อว่า
อธิวจนา (ถ้อยคำยิ่ง). ทางแห่งถ้อยคำยิ่ง ชื่อว่า อธิวจนปถา ถ้อยคำที่พูด
เจาะจงลงไปทำให้มีเหตุผลอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะปัจจัย
ทั้งหลายปรุงแต่ง ฉะนั้น จึงชื่อว่า สังขาร ดังนี้ ชื่อว่า นิรุตติ. ทาง

แห่งนิรุตติ ชื่อว่า นิรุตติปถา. ชื่อว่า บัญญัติ เพราะบัญญัติขึ้นโดย
ประการนั้น ๆ อย่างนี้ว่า ตกฺโก (ตรึก) วิตกฺโก (การตรึก) สงฺกปฺโป
(ความดำริ). ทางแห่งบัญญัติทั้งหลาย ชื่อว่า คลองแห่งบัญญัติ. บทที่
เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตร แม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอด คือ
พระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.
เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวไว้แล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาอุปสีมาณวกนิทเทสที่ 6

นันทมาณวกปัญหานิทเทส


ว่าด้วยปัญหาของท่านนันทะ


[281] (ท่านนันทะทูลถามว่า)
ชนทั้งหลายย่อมกล่าวกันว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก
ข้อนี้นั้นเป็นอย่าง ชนทั้งหลายย่อมกล่าวถึงบุคคลผู้
ประกอบด้วยญาณว่าเป็นมุนี หรือว่าย่อมกล่าวถึงบุคคล
ผู้ประกอบด้วยความเป็นอยู่ว่าเป็นมุนี.

[282] คำว่า สนฺติ ในอุเทศว่า สนฺติ โลเก มุนโย ดังนี้
ความว่า ย่อมมี คือ ย่อมปรากฏ ย่อมประจักษ์.
คำว่า ในโลก ความว่า ในอบายโลก ฯ ล ฯ ในอายตนโลก.
คำว่า มุนีทั้งหลาย ความว่า อาชีวก นิครนถ์ ชฎิล ดาบส ชื่อว่า
มุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา นนฺโท ดังนี้ เป็นบทสนธิ.
คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก. คำว่า นนฺโท เป็นชื่อ
ฯ ล ฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่าน
นันทะทูลถามว่า.
[283] คำว่า ชนทั้งหลาย ในอุเทศว่า ชนา วทนฺติ ตยิทํ
กถํสุ
ดังนี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร บรรพชิต เทวดา
และมนุษย์.
คำว่า ย่อมกล่าว ความว่า ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด ย่อมแสดง
ย่อมบัญญัติ.